หนึ่งใน application ที่สำคัญของเทคโนโลยี Blockchain ก็คือการชำระราคาและส่งมอบหลักทรัพย์แบบทันที (Instant securities settlement)

ปัจจุบันการชำระราคาหลักทรัพย์ในประเทศไทยใช้วิธีการโอนและรับเงินผ่าน Settlement Bank หรือผ่านระบบ BAHTNET ของธนาคารแห่งประเทศไทย

ส่วนการส่งมอบหลักทรัพย์ จะทำกันระหว่างสมาชิกของสำนักหักบัญชี (Thailand Clearing House; TCH) ซึ่งก็คือบริษัทหลักทรัพย์และธนาคารต่างๆ โดยนายทะเบียนคือศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (Thailand Securities Depository; TSD) จะมีบัญชีว่าสมาชิกรายไหนมีหลักทรัพย์อะไรอยู่บ้าง เมื่อ TCH แจ้งว่าได้มีการซื้อขายและชำระราคากันแล้ว TSD ก็จะโอนหลักทรัพย์ในบัญชีของสมาชิกที่ขาย ไปใส่บัญชีของสมาชิกที่ซื้อ

Thailand Clearing House

ซึ่งการชำระราคาและส่งมอบหลักทรัพย์นี้ใช้เวลา 2-3 วัน

เทคโนโลยี Blockchain อาจนำมาใช้ได้ในการสร้างระบบชำระราคา หรือการส่งมอบหลักทรัพย์ หรือทั้งสองอย่างก็ได้ ซึ่งอาจทำให้กระบวนการทั้งหมดเกิดขึ้นได้แทบจะในทันที

จึงแน่นอนที่หน่วยงานกำกับของประเทศต่างๆ จะสนใจเป็นอย่างมาก

หน่วยงานกำกับ

หน่วยงานกำกับสถาบันการเงิน โดยทั่วไปคือธนาคารกลาง และกลต. ของประเทศต่างๆ

แต่ความที่เป็นหน่วยงานกำกับก็ทำให้เกิดความรู้สึกกลืนไม่เข้าคายไม่ออกเช่นกัน

เพราะโดยปกติแล้ว หน่วยงานกำกับมีหน้าที่รักษาเสถียรภาพ ความปลอดภัย และความน่าเชื่อถือโดยรวมของระบบ ความคิดและการทำงานจึงเป็นไปในลักษณะที่ระมัดระวัง

ดังนั้นการที่จะให้หน่วยงานกำกับสรรสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ หรือแม้แค่การอำนวยความสะดวกให้บริษัทต่างๆ สร้างนวัตกรรมในด้านที่เกี่ยวข้องกับระบบการชำระเงิน จึงไม่ใช่เรื่องที่หน่วยงานกำกับคุ้นเเคยนัก

ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา เทคโนโลยีใหม่ที่สามารถ disrupt ระบบการเงินของโลกเกิดขึ้นหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นการใช้งานอินเตอร์เน็ตและโทรศัพท์มือถือที่เพิ่มขึ้นอย่างมาก เทคโนโลยี blockchain เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยอิเลคโทรนิคต่างๆ

ซึ่งกฎหมายที่เกี่ยวข้องและกฎเกณฑ์ต่างๆ ตามไม่ทัน

ยกตัวอย่างเช่น การที่การชำระราคาและส่งมอบหลักทรัพย์ใช้เวลา 2-3 วัน ก็ให้เวลาผู้เกี่ยวข้องต่างๆ ได้ทำการตรวจสอบต่างๆ ที่จำเป็น เช่นการป้องกันการฟอกเงินหรือหยุดการจ่ายเงินถ้าผู้รับมีความเกี่ยวข้องกับการก่อการร้าย (AML/CFT) ถ้าหากในอนาคตกระบวนการเกิดขึ้นภายในหลักวินาที ระบบการตรวจสอบต่างๆ ก็ไม่สามารถทำด้วยวิธีเดิมได้

แต่ในทางกลับกัน ถ้าหากเราสร้างความสามารถในการตรวจสอบเหล่านี้เข้าไปในตัวเทคโนโลยีเอง (เช่นที่ R3CEV ทำกับ Corda) เราก็อาจมีระบบที่ช่วยให้หลักทรัพย์ต่างๆ สามารถเปลี่ยนมือได้ในทันที และก็ยังมีการตรวจสอบตามกฎเกณฑ์ต่่างๆ ได้แบบ real time ด้วย

ประเด็นที่น่าสนใจ

ประเด็นอื่นๆ ที่หน่วยการกำกับกำลังให้ความสนใจ ได้แก่

  • ข้อดีข้อเสียของ Distributed Ledger แบบเปิดกับแบบปิด
  • ถ้าระบบจะใช้ได้ทั่วโลก ก็ต้องมีมาตรฐานร่วมกัน และระบบที่บริษัท IT ต่างๆ จะทำขึ้นมาขายก็ต้องทำให้ทำงานร่วมกันให้ได้ (แน่นอนทุกคนอยากเป็นคนกำหนดมาตรฐาน)
  • การที่ flow ของเงินเกิดขึ้นในทันที ทำให้เกิด systemic risk (ปัญหาลูกโซ่ที่ทำให้สถาบันการเงินล้มตามๆ กัน) ได้ง่ายขึ้น ดังนั้นต้องคิดวิธีป้องกัน
  • Scalability ของเทคโนโลยี Blockchain – ยิ่ง Blockchain มีขนาดใหญ่ขึ้น แต่ละ node ก็จำเป็นจะต้องมี computing power, storage, และ bandwidth ที่เพิ่มมากขึ้นด้วย ดังนั้นถ้า Blockchain ขนาดใหญ่มากๆ แบบที่จะใช้รองรับระบบการชำระเงินทั่วโลกได้ ก็อาจมี node ที่มีทรัพยากรพอจะเป็น full node ได้ไม่เยอะ ก็จะเกิดปัญหา centralization ขึ้นได้
  • ธนาคารใหญ่ๆ จะอยากได้ instant settlement หรือเปล่า (เพราะด้วยระบบปัจจุบันธนาคารสามารถเอา Liquidity ในช่วงก่อน settlement date ไปใช้ประโยชน์ได้)
  • ถ้ามี Instant Settlement ก็จะช่วยลด Counterparty Risk ลงได้ ดังนั้นธนาคารก็สามารถที่จะลดเงินกองทุนขึ้นต่ำลง และช่วยให้มี Return on Equity ที่ดีขึ้น

ความกังวลหลักของหน่วยงานกำกับ ซึ่งก็โยงกลับไปที่บทบาทดั้งเดิม ก็คือการที่ระบบชำระเงินมีความสำคัญมากๆ ถ้าหากเอาเทคโนโลยีที่ยังไม่เข้าใจดีมาใช้ อาจเกิดปัญหาระดับระบบการเงินหยุดชะงักได้ทีเดียว

จะเห็นว่าโจทย์ของหน่วยงานกำกับนั้นไม่ง่ายเลย แต่มีความสำคัญมากๆ

จึงมีคำพูดที่ว่า RegTech (Regulatory Technology) is the new FinTech

 

Sources:

Thailand Clearing House
Blockchain and Payments Infrastructure: A Regulator’s Dilemma?

LEAVE A REPLY

Please enter your comment!
Please enter your name here