เห็นข่าวเปิดตัวระบบ OriginCert ของกสิกรไทย เป็นการใช้งาน blockchain แก้ปัญหาทางธุรกิจที่น่าสนใจครับ คุณสมคิด จิรานันตรัตน์ อธิบายได้ชัดเจนว่า pain point คืออะไร และใช้ blockchain แก้ปัญหาอย่างไร ขอปรบมือให้เลยครับ

หลายข่าวบอกเล็กน้อยว่าระบบพัฒนาขึ้นบนแพลตฟอร์ม Hyperledger และ Deploy บน Bluemix Cloud ของ IBM เลยคิดว่าจะพูดถึงซักหน่อย เพราะบริการนี้น่าจะเป็นอันแรกๆ ในโลกเลยที่มีธนาคารเปิดเผยว่าใช้ IBM Blockchain บน Bluemix เพราะ IBM เพิ่งเปิดตัวบริการนี้เมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมานี่เอง

Hyperledger

Hyperledger เป็นโครงการที่ริเริ่มโดย Digital Assets ก่อนที่จะเปิดซอร์สและย้ายมาเป็นโครงการของ Linux Foundation (Brian Behlendorf ที่เป็น Project Lead เคยเป็นนักพัฒนาหลักคนนึงของโครงการ Apache, และอยู่บนบอร์ด Mozilla Foundation และ EFF ด้วย)

เป้าหมายของ Hyperledger คือการสร้างแพลตฟอร์ม distributed ledger ที่เปิดและสามารถนำไปใช้ได้ในหลายๆ อุตสาหกรรม จึงเน้นออกแบบให้มีความ modular สูง และเลือกใช้ได้ตามความต้องการที่แตกต่างกัน

Use case และ Requirements ต่างๆ ของ hyperledger ยังมีการเพิ่มเติมตลอดเวลา โดยจะมีด้านที่เกี่ยวกับ Financial Market Instruments เยอะที่สุด แต่ก็ด้านอื่นที่น่าสนใจหลายอย่างมาก เช่น

  • Airline Miles
  • Luxury Goods & Diamond Tracking
  • Health Records
  • Clinical Trial Results
  • KYC & Client Onboarding

Which Hyperledger?

ภายใต้โครงการ Hyperledger เองยังมีโครงการย่อยอีก และมีแพลตฟอร์ม blockchain อยู่ 2 อันที่แตกต่างกัน

  • Fabric เป็นแพลตฟอร์มที่เสนอโดย IBM กับ DAH ใช้ภาษา Go ออกแบบมาสำหรับสร้าง private blockchain และต้อง deploy ด้วย Docker (ตอนแรกใช้ได้เฉพาะบน IBM Cloud Service แต่ตอนนี้สามารถเอาไป deploy บน cloud platform อื่นได้แล้ว)
  • Sawtooth Lake เป็นแพลตฟอร์มที่เสนอโดย Intel กับ R3 ใช้ภาษา Python มีความ modular สูง (ผู้ใช้สามารถเลือก data model, transaction language, และ consensus method ที่เหมาะกับการใช้งานของตัวเองได้) สามารถสร้างได้ทั้ง public blockchain และ private blockchain และ สามารถ deploy บนเครื่องของตัวเองหรือบน cloud platform เจ้าไหนก็ได้

Hyperledger member

IBM เป็นสมาชิกสำคัญรายนึงของโครงการ Hyperledger และ code base เริ่มต้นตอนตั้งโครงการก็มาจาก joint proposal ของ Blockstream, Digital Asset, และ IBM นอกจากนั้นก็มี R3 ที่ให้เฟรมเวิร์คสำหรับการนิยาม financial transaction บน blockchain รวมทั้ง Intel ก็มีบทบาทค่อนข้างมาก

นอกจากบริษัทเทคโนโลยีแล้ว อีกกลุ่มนึงที่ให้ความสนใจโครงการนี้อย่างมากก็คือสถาบันการเงินต่างๆ รายชื่อสถาบันที่ร่วมเปิดตัวโครงการได้แก่ ABN AMRO, ANZ Bank, BNY Mellon, Deutsche Börse Group, J.P. Morgan, State Street, SWIFT, Wells Fargo

IBM Bluemix

Bluemix เป็นบริการ PCaas (Private Cloud As A Service) ของ IBM (ลูกค้าแต่ละรายไม่แชร์ hardware ระหว่างกัน) สร้างบนเทคโนโลยี OpenStack และ hardware อยู่ใน IBM Datacenter โดยมี component ของ Cloud Service ทั่วๆ ไปคือ Storage / Compute / Network / Security / Data & Analytics และบางอย่างที่เจ้าอื่นไม่มี เช่น Watson integration สำหรับวิเคราะห์ข้อมูลและ Machine Learning

Bluemix เป็น cloud platform สำหรับธุรกิจ ได้รับรองตามมาตรฐานด้านความปลอดภัยและประสิทธิภาพหลายอย่าง ทำให้สถาบันหรือหน่วยงานรัฐบาลจะเป็นลูกค้าต้องปวดหัวกับเรื่องพวกนี้ด้วยตัวเอง

Blockchain on Bluemix ก็เป็นหนึ่งในร้อยๆ module ของ Bluemix นั่นเอง ซึ่งการใช้ Clound/Container ทำให้สามารถ spin up blockchain testnet ได้ง่ายตอนพัฒนา และขยาย network หลังจาก deploy แล้วได้เร็วสำหรับ node ใหม่ที่จะเข้าร่วม blockchain network ช่วยให้ผู้พัฒนาสามารถเอาเวลาไปโฟกัสไปที่การสร้าง business application แทนได้

blockchain application ที่ทำงานบน Fabric จะมีโครงสร้างประมาณนี้

System Entities, จาก Fabric Protocol Specification
System Entities, จาก Fabric Protocol Specification

โดยในการใช้งาน Blockchain on Bluemix นั้นแต่ละ instance จะเป็น 4-node network

bluemix-pricing

ในชีวิตจริงผู้ใช้งานหลักใน network แต่ละรายต้องรัน instance ของตัวเอง (เพื่อให้มี validating node) และ join blockchain network ด้วยการระบุ network_id และ api_url [ตัวอย่าง]

LEAVE A REPLY

Please enter your comment!
Please enter your name here