เราได้ยินข่าวธุรกิจต่างๆ แสดงความสนใจที่จะนำเทคโนโลยี blockchain มาใช้ไม่เว้นแต่ละวัน หนึ่งใน sector ที่ผมคิดว่าเราจะเห็นการเปลี่ยนแปลงจริงจังคือธุรกิจประกันภัยครับ ซึ่ง blockchain จะมีผลกระทบมากทั้งในขั้นตอน Underwrite และขั้นตอน Claim โดยจะทำให้กระบวนการทั้งหมดนั้น เร็วขึ้น แม่นยำขึ้น และโปร่งใสขึ้น

ลองมาดูตัวอย่าง Fizzy ที่ AXA เพิ่งเริ่มเปิดตัวเมื่อวานนี้กันครับ ก่อนจะลงเบื้องหลังว่าใช้ blockchain ตรงไหน เราเริ่มจากวิธีการใช้งานสำหรับลูกค้าก่อน

Fizzy เป็นบริการประกันเครื่องบินล่าช้า (Flight Delay Insurance) การใช้งานมีขั้นตอนดังนี้

  • ใส่หมายเลข e-ticket และชื่อคนเดินทาง
  • เลือกแผนประกัน
  • กรอกข้อมูลส่วนบุคคล (ชื่อ-ที่อยู่)
  • จ่ายค่าประกันด้วยบัตรเครดิต
  • ถ้าเครื่องบินดีเลย์เกิน 2 ชั่วโมง เงินค่าคุ้มครองจะถูกจ่ายเข้าบัตรเครดิตทันทีที่เครื่องถึงที่หมาย ลูกค้าไม่ต้องทำอะไรเลย ไม่ต้องกรอกฟอร์มเคลม ไม่ต้องส่งอีเมล์อะไรทั้งนั้น
ขั้นตอนการใช้งาน Fizzy // จาก fizzy.axa

แล้ว Fizzy ใช้เทคโนโลยี blockchain ตรงไหนบ้าง?

ขั้นตอนการ Underwrite

เมื่อเราใส่ข้อมูล flight ที่จะบินแล้ว Fizzy จะดึงข้อมูลประวัติการดีเลย์ของ flight นั้นในอดีต เพื่อคำนวณเบี้ยประกัน และวงเงินชดเชย (flight ไหนทีดีเลย์เป็นปกติอยู่แล้ว เบี้ยประกันก็จะสูงเมื่อเทียบกับวงเงินชดเชย)

หลังจากนั้นเงื่อนไขกรมธรรมต่างๆ จะถูกบันทึกเป็น smart contract บน Ethereum blockchain ได้แก่

    • เบี้ยประกัน
    • วงเงินชดเชย
    • arrival time ตามกำหนดการ
    • triggering arrival time

 

ขั้นตอน Claim

เมื่อเครื่องบินลง smart contract ก็จะเปรียบเทียบ arrival time จริงกับ triggering arrival time ถ้าเลยเวลา ตัว smart contract ก็จะทำกระบวนการจ่ายเงินชดเชยเดี๋ยวนั้นเลย (และส่งอีเมล์มาบอกเรา)

วิเคราะห์

Fizzy เป็นผลิตภัณฑ์ที่พัฒนาขึ้นโดย AXA Global Parametrics เป็นบริษัทลูกที่ AXA เพิ่งเปิดตัวเมื่อต้นปี 2017 นี้เอง โดยเป้าหมายคือสร้างผลิตภัณฑ์ประกันที่มีลักษณะการเคลมอัตโนมัติ โดย link กับข้อมูลภายนอก (parameter) บางอย่าง ซึ่งนอกจาก Fizzy แล้วธุรกิจส่วนใหญ่จะเป็นการประกันที่เกี่ยวกับสภาพอากาศ เช่น

  • บริษัท solar farm ในประเทศจีน ทำประกัน ที่จะจ่ายชดเชยถ้าอากาศแปรปรวนทำให้ปริมาณแสงอาทิตย์ลดต่ำกว่าที่คาดการณ์
  • ชาวนาในอาฟริกา ทำประกันที่จะจ่ายชดเชยถ้าฝนตกน้อยกว่าปริมาณที่กำหนด
  • โครงการก่อสร้างในประเทศแถบหนาว ทำประกันที่จะจ่ายชดเชยถ้าอุณหภูมิลดต่ำกว่าที่กำหนด ทำให้ทำงานไม่ได้

โดยลักษณะสำคัญคือ กรมธรรมจะกำหนดเงื่อนไขทีผูกกับ parameter ภายนอก ซึ่งทั้งสองฝ่าย (ผู้ทำประกัน กับบริษัทประกัน) ตกลงกันว่าจะใช้ข้อมูล parameter จาก 3rd party เป็นข้อมูลอ้างอิง เช่น ใช้ปริมาณน้ำฝนอย่างเป็นทางการที่กรมอุตุฯประกาศ

จาก AXA Corporate Solutions

ในมุมมองของลูกค้า ความโปร่งใส (เงื่อนไขชัดเจน บันทึกบน blockchain จึงไม่สามารถแก้ไขได้) และความรวดเร็ว (เคลมอัตโนมัติ) น่าจะเป็นเป็นตัวผลักให้บริการประกันลักษณะนี้ได้รับความนิยมได้ไม่ยาก เพราะขั้นตอนที่ลูกค้าเกลียดที่สุดในวงจรชีวิตของผลิตภัณฑ์ประกัน ก็น่าจะเป็นความปวดหัวเวลาจะเคลมนี่เอง ทั้งความไม่ชัดเจน และความล่าช้า จริงมั๊ยครับ

LEAVE A REPLY

Please enter your comment!
Please enter your name here