ในยุคแรกของธุรกิจ Peer-to-Peer Lending (หรือบางครั้งก็เรียกว่า Marketplace Lending) ธนาคารจำนวนมากมองเห็น P2P Lending เป็นสิ่งคุกคามต่อธุรกิจสินเชื่อรายย่อยและบริษัทขนาดเล็ก
แต่ในช่วง 1-2 ปีหลังนี้ เริ่มมีความชัดเจนขึ้น ว่ากลุ่มลูกค้าสินเชื่อธนาคาร กับกลุ่มลูกค้าของ P2P Lending ไม่ใช่กลุ่มเดียวกันซะทีเดียว กล่าวคือ P2P Lending สามารถให้บริการผู้กู้กลุ่มที่ธนาคารมักไม่ปล่อยสินเชื่อให้ได้ เนื่องจากมีระดับความเสี่ยงค่อนข้างสูง ซึ่งจะทำให้ธนาคารต้องดำรงเงินกองทุนในระดับสูงตามไปด้วย
เราจึงเริ่มเห็น P2P Lender กับธนาคารกลายมาเป็นพันธมิตรกันมากขึ้น โดยมีรูปแบบความร่วมมือหลักๆ คือ Referral, Funding, และ White-label Service
Referral Model
แต่ละธนาคารจะมีมาตรฐานการอนุมัตสินเชื่อ (Underwriting Standard) ซึ่งกำหนดเงื่อนไขของการปล่อยกู้ เช่น เงินเดือนขั้นต่ำ, จำนวนหนี้ที่มีในปัจจุบัน, และประวัติการเครดิต ถ้าคนขอกู้ไม่เข้าเงื่อนไขที่กำหนดไว้ ก็จะถูกปฏิเสธสินเชื่อ
ซึ่งไม่ได้หมายความว่าคนที่ถูกปฏิเสธสินเชื่อนั้นเป็นลูกค้าที่ไม่ดี เพียงแต่ยอดเงินกู้อาจจะต่ำหรือมีระดับความเสี่ยงสูงกว่าที่ธนาคารต้องการจะรับ ดังนั้นธนาคารสามารถ refer ลูกค้ารายพวกนี้ไปให้ P2P Lender ต่อได้ เพราะ P2P Lender มักจะมีกลุ่มนักลงทุนที่หลากหลาย และมียอดเงินที่ต้องการลงทุนกับระดับความเสี่ยงที่รับได้หลากหลายกว่า
โดยธนาคารอาจอำนวยความสะดวกให้ ด้วยการส่งต่อข้อมูลต่างๆ (เมื่อได้รับอนุญาตแล้ว) ของผู้ขอกู้ให้กับ P2P Lender เพื่อให้สามารถพิจารณาอนุมัติสินเชื่อได้เร็วขึ้น
สิ่งที่ธนาคารได้: ค่าแนะนำลูกค้า
สิ่งที่ P2PL ได้: ลูกค้าที่เพิ่มขึ้น
Referral เป็นรูปแบบความร่วมมือที่ง่ายที่สุด จึงมีตัวอย่างค่อนข้างมาก เช่น
- Santander จับมือกับ Funding Circle (2014)
- Royal Bank of Scotland จับมือกับ Funding Circle (2015)
- DBS จับมือกับ Funding Societies และ MoolahSense (2016)
Funding Model
ในโมเดลนี้ ธนาคารเข้ามาเป็นฝั่งผู้ให้กู้บน platform ของ P2P Lender
ซึ่งอาจจะเป็นรูปแบบพื้นๆ คือธนาคารเข้ามาซื้อสินเชื่อที่มีระดับความเสี่ยงที่ธนาคารรับได้ (ส่วนใหญ่คือสินเชื่อชั้นดีๆ ของ P2P Lender) ในช่วงนี้ธนาคารทั่วโลกมีเงินทุนที่ต้นทุนต่ำมาก การนำเงินทุนจำนวนหนึ่งมาลงทุนซื้อสินเชื่อจาก P2P Lending Platform ซึ่งมีอัตราการจ่ายดอกเบี้ยสูงกว่าสินเชื่อธนาคาร ก็เลยเป็นธุรกิจที่มีกำไรดี

โดยธนาคารอาจจะถือสินเชื่อพวกนี้เอาไว้เองเพื่อรับดอกเบี้ย หรืออาจจะนำไปทำ securitization และขายต่ออีกทอดนึงก็ได้
โมเดล Funding เป็นการเพิ่มอุปสงค์บน P2P Lending Platform จึงช่วยให้ธุรกิจ P2P Lending มีการขยายตัวได้มากขึ้น และการที่มีตลาดรองซื้อขายโน๊ตสินเชื่อ P2P ทำให้มีสภาพคล่องมากขึ้น ซึ่งก็จะช่วยดึงดูด Lender ให้เข้ามาบ P2P Lending Platform มากขึ้นอีกต่อนึงด้วย (ให้กู้แล้วมีช่องทางขายออกได้ถ้าไม่อยากถือต่อ ทำให้ตัดสินใจง่ายขึ้น)
สิ่งที่ธนาคารได้: Asset Class ใหม่ที่มีผลตอบแทนดี
สิ่งที่ P2PL ได้: สามารถปล่อยกู้ได้มากขึ้น ตลาด P2P โดยรวมใหญ่ขึ้นและมีสภาพคล่องมากขึ้น
ตัวอย่างความร่วมมือในรูปแบบ Funding Model
White-label Model
ความร่วมมือในรูปแบบ White-label นั้นจะเกิดขึ้นได้เมื่อ P2P Lender มีความเก่งในการ underwrite สินเชื่อมากกว่ากระบวนการอนุมัติสินเชื่อปกติของธนาคาร ซึ่งความเก่งที่ว่านี้อาจจะอยู่ในรูปแบบต่างๆ กัน เช่น
- ความสะดวก เช่นทำบนแอปมือถือได้ หรือรู้ผลอนุมัติได้เร็วกว่าธนาคาร หรือ
- ความแม่นยำ เช่น มีการใช้ social data และ algorithm ใหม่ช่วยให้แยกแยะคุณภาพผู้กู้ได้ดีกว่า credit scorecard ของธนาคาร
ซึ่งในกรณีนี้ การร่วมมือกันในลักษณะ white-label ก็คือการเอาระบบ underwrite ของ P2P Lender มาใช้ underwrite สินเชื่อที่ธนาคารเป็นผู้ให้กู้นั่นเอง หรืออาจเรียกว่าเป็น Lending-As-A-Service (LAAS) ก็ได้
ตัวอย่างความร่วมมือแบบ white-label ที่มีการพูดถึงกันมากก็คือ การจับมือกันของ OnDeck และ JPMorgan Chase เมื่อปลายปี 2015 โดยธนาคารจะใช้ระบบของ OnDeck ในการอนุมัติสินเชื่อ SME ซึ่งจะทำให้สามารถรู้ผลอนุมัติได้ภายในไม่กี่ชั่วโมง เทียบกับระบบอนุมัติสินเชื่อของธนาคารเองซึ่งอาจใช้เวลาหลายอาทิตย์ ซึ่ง JPMorgan Chase หวังว่าจะช่วยให้ได้ส่วนแบ่งตลาด SME มากขึ้นเทียบกับคู่แข่งสำคัญคือ Bank of America และ Wells Fargo
สิ่งที่ธนาคารได้: ลูกค้าเพิ่มในกลุ่มที่ underwrite ยากๆ
สิ่งที่ P2PL ได้: origination fee (ตอนอนุมัติสินเชื่อ) และ servicing fee (รับจ่ายเงินคืนรายเดือน)
Peer-to-Peer หรือ Marketplace Lending ต่างจากธนาคารปล่อยกู้ยังไง
