What is a robo-advisor

Robo-advisor (หรือถ้าเรียกให้เป็นทางการหน่อยก็คือ Automated Investment Service) คือบริการที่ช่วยลูกค้าลงทุนแบบอัตโนมัติ โดยบริการหลักๆ ก็คือการช่วยจัดสรรสินทรัพย์ (asset allocation) และทำการซื้อขายให้โดยอัตโนมัติเพื่อให้พอร์ตการลงทุนเป็นไปตามที่จัดไว้

ก่อนที่จะเข้าสู่รายละเอียด เรามาปูพื้นฐานศัพท์ทางด้านการลงทุนกันก่อนเล็กน้อยนะครับ

Asset Allocation (การจัดสรรสินทรัพย์) ก็คือการวางแผน ว่าการลงทุนให้ได้เป้าหมายที่เราต้องการ และให้ความเสี่ยงอยุ่ในระดับที่เรารับได้ ควรจะแบ่งเงินไปลงทุนทรัพย์สินประเภทไหนเป็นสัดส่วนเท่าไหร่ เช่น หุ้น 80% เงินฝาก 20% เป็นต้น

การศึกษาผลตอบแทนการลงทุนทั่วโลก ให้ผลลัพธ์คล้ายกันก็คือ ผลตอบแทนที่เราได้จากการลงทุนนั้นกว่า 90% มาจากการจัดสัดส่วนเงินลงทุนนี่เอง ส่วนการจับจังหวะ การเลือกหุ้น ฯลฯ นั้นบวกลบแล้วเพิ่มผลตอบแทนขึ้นอีกเป็นส่วนที่น้อยกว่า ดังนั้นการทำ asset allocation ที่เหมาะสม และ การควบคุมให้การลงทุนเป็นไปตามสัดส่วนอย่างสม่ำเสมอ จึงมีความสำคัญมาก

ตัวอย่างการจัดสัดส่วนการลงทุน (Source: Charles Schwabb)
ตัวอย่างการจัดสัดส่วนการลงทุน (Source: Charles Schwab)

การจัดสัดส่วนการลงทุนพวกนี้ ใช้ทฤษฎี Modern Portfolio Theory ครับ

Index Investment คือการลงทุนตามดัชนี เช่น เมื่อเลือกจะลงทุนในหุ้นไทย ก็ลงทุนตามดัชนี SET Index โดยซื้อหุ้นต่างๆ ตามสัดส่วนน้ำหนักในดัชนี เช่นถ้าหุ้น A มีน้ำหนักในดัชนี 3% คนที่ลงทุนแบบ index investment ก็จะแบ่งเงินส่วนที่จะลงทุนในหุ้น 3 บาท จาก 100 บาท ไปซื้อหุ้น A

ซึ่งวิธีการลงทุนสำหรับคนที่ต้องการ index investment ก็คือการซื้อ ETF (Exchange-Traded Fund) หรือกองทุนรวมดัชนี ต่างๆ โดยไม่ต้องไปไล่ซื้อหุ้นทุกตัวโดยตรงนะครับ โดยกองทุนประเภทนี้จะมีค่าบริหารที่ถูก เนื่องจากไม่ต้องจ้างมืออาชีพมานั่งวิเคราะห์นั่งเทรด แค่ลงทุนตามดัชนีก็พอ

นักลงทุนจำนวนไม่น้อย เชื่อว่าการลงทุนแบบ active investment (วิเคราะห์ เลือกหุ้นรายตัว หรือเลือก sector และการซื้อๆ ขายๆ) นั้น มี cost เยอะ ไม่ว่าจะเป็นค่าคอมมิชชั่นเวลาซื้อ-ขายหุ้น หรือค่าบริหารกองทุนที่จะคิดแพงกว่ากองทุนดัชนี และผลงาน่ของ index investment กับ active investment นั้นก็พอๆ กัน ดังนั้นเมื่อ passive investment คิดค่าบริหารถูกกว่า สุดท้ายแล้วก็จะได้ผลตอบแทนสุทธิที่ดีกว่า

ในหลายประเทศเราจึงเห็นเงินสัดส่วนเงินลงทุนค่อยๆ ไหลจากกองทุนแบบ active ไปสู่กองทุนแบบ passive (อีกชื่อของ index investment) อย่างต่อเนื่อง

Active vs Passive Fund Asset (Source: Bloomberg Markets)

บริการที่เป็นหัวใจของ robo-advisor ก็คือ Asset Allocation และ Index Investment นี่เอง

ถ้าเราลอง sign up กับ robo-advisor เจ้าใหญ่ที่สุดในตอนนี้ คือ Betterment ก็จะเจอขั้นตอนแบบนี้ครับ

เริ่มจากกรอกข้อมูลพื้นฐาน และตั้งเป้าหมายในการลงทุน เช่นเก็บเงินไว้ใช้ตอนเกษียณ หรืออาจจะเก็บเงินไว้สำหรับการศึกษาของลูก

step 1 ข้อมูลพื้นฐาน
Step 1 ข้อมูลพื้นฐาน
betterment-set-goal
Step 2 กำหนดเป้าหมายของการลงทุน

ด้วยข้อมูลพวกนี้ Betterment ก็จะทำ asset allocation ให้เรา ได้ผลแบบรูปข้างล่าง โดยผมเลือกกรอกข้อมูลว่าอายุ 37 ต้องการลงทุนเพื่อเก็บเงินไว้ใช้ยามเกษียณ ด้วยโปรไฟล์แบบนี้ ก็ได้สัดส่วนการลงทุนเป็นหุ้นเยอะหน่อย โดยกระจายย่อยลงไปอีกว่าลงในหุ้นอเมริกาเท่าไหร่ หุ้นตลาดเกิดใหม่เท่าไหร่

betterment-goal-recommendation
Step 3 ทำ asset allocation

ตัวอักษร 3-4 ตัวที่ต่อท้าย ก็คือชื่อกองทุน ETF ครับ เช่น VWO ก็คือกองทุน Vanguard FTSE Emerging Markets ETF

ขั้นตอนหลังจากนี้ก็จะเป็นการกรอกข้อมูลส่วนตัวเพิ่มเติม เช่น ชื่อ วันเดือนปีเกิด ที่ทำงาน หมายเลขประจำตัวต่างๆ และก็ขั้นตอนการโอนเงินเข้ามาในบัญชีของ Betterment เพื่อเริ่มลงทุน โดยเงินที่เราโอนเข้ามาก็จะถูกเอาไปซื้อ ETF ต่างๆ ตามสัดส่วนที่จัดไว้นั่นเอง (และแน่นอนลูกค้าก็สามารถเปลี่ยนสัดส่วนพวกนี้ได้นะครับ ไม่ได้บังคับว่าต้องทำตามที่เค้าแนะนำเป๊ะๆ)

หลังจากนั้น Betterment ก็จะ่คอยปรับพอร์ตของเรา ให้คงสัดส่วนตามที่ได้จัดเอาไว้ ซึ่งเป็นขั้นตอนที่สำคัญขั้นตอนนึง เนื่องจาก ETF ก็เหมือนหุ้น ราคามีขึ้นมีลง แม้ว่าวันแรกเราจะจัดสัดส่วนไว้ถูกแล้ว เมื่อเวลาผ่านไปสัดส่วนก็จะเริ่มไหล (drift) ซึ่งถ้าไหลมากๆ ผลการดำเนินงานของพอร์ตก็อาจจะไม่ได้ตามที่เราต้องการ เช่น ความเสี่ยงอาจจะสูงเกินไป

ทุกครั้งที่เราโอนเงินเข้ามาเพิ่ม หรือถอนเงินจากบัญชี Betterment ออกไปที่บัญชีธนาคารของเรา Betterment ก็จะทำการ ซื้อ-ขาย และรักษาสัดส่วนการลงทุนให้เราโดยอัตโนมัติ

To participate in Betterment, clients are required to agree to have their accounts automatically rebalanced and their dividends automatically reinvested.

บริการที่เป็นหัวใจของ robo-advisor ก็อธิบายได้ง่ายๆ แบบนี้ครับ แต่แน่นอนว่า แต่ละเจ้าก็มี value-added services มาแข่งกันมากมายเพื่อดึงดูดลูกค้า ทั้งด้านบริการ และด้านเทคนิกการลงทุนเพื่อให้ได้ผลตอบแทนที่ดีกว่า (ในลิงค์นี้ CEO ของ Betterment กับ Wealthfront มาตอบคำถามใน Quora อ่านมันส์มาก)

ส่วนคำถามสำคัญว่า ด้วยทุกอย่างที่ทำนี้ ไม่ว่าจะเป็น fee ต่ำ ทำ asset allocation ลงทุนแบบ passive สุดท้ายแล้วผลตอบแทนดีหรือเปล่า Betterment เปรียบเทียบให้ดูว่าประสิทธิภาพต่างๆ ทั้งด้านการปฏิบัติงาน และประสิทธิภาพด้านการจัดการภาษี ช่วยให้ผลตอบแทนดีกว่าการลงทุนด้วยตัวเองมากทีเดียวครับ

ผลตอบแทนเมื่อใช้ Betterment เทียบกับค่าเฉลี่ยของนักลงทุนรายบุคคล, Source: Betterment
ผลตอบแทนเมื่อใช้ Betterment เทียบกับค่าเฉลี่ยของนักลงทุนรายบุคคล, Source: Betterment

How does robo-advisors work

บทบาทของผู้เล่นในธุรกิจลงทุน/หลักทรัพย์โดยปกติแล้วจะถูกกำหนดไว้ด้วยประเภทของใบอนุญาตประกอบธุรกิจ

ตัว robo-advisor ในอเมริกานั้นถือใบอนุญาต Investment Advisor (ในเมืองไทยก็คือ ใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทที่ปรึกษาการลงทุน) ซึ่งหมายความว่า Betterment หรือ Wealthfront สามารถให้คำแนะนำ (จัด asset allocation) ให้เราได้ แต่ทำรายการซื้อขายให้เราด้วยตัวเองไม่ได้ หน้าที่นั้นต้องทำโดย broker

ดังนั้นเพื่อให้บริการลงทุนแบบอัตโนมัติ robo-advisor เลยต้องผูกบริการของตัวเองเข้าด้วยกันกับโบรกเกอร์ โดยเจ้าใหญ่ๆ ก็ตั้งบริษัทโบรกเกอร์ของตัวเองเลย เช่นถ้าเราใช้งาน Betterment ก็จะเปิดบัญชีให้เราไว้ที่ Betterment Securities แล้วคำสั่งซื้อขายต่างๆ ก็จะถูกส่งไปทำรายการที่นั่น

When clients deposit to or withdraw money from their Betterment account, they are requesting that Betterment purchase or sell the available Funds, in an amount that corresponds to their Allocation. Similarly, when clients and/or their separate registered investment advisors adjust a client’s Allocation they are requesting that Betterment exchange available Funds for one another.

ซึ่งการส่งคำสั่งซื้อขายให้นี่ ก็ถือว่าทำมากกว่า Investment Advisor แบบเดิมๆ ในสัญญาการใช้งานก็เลยต้องมีข้อความลักษณะแบบต้วอย่างข้างบน ว่าลูกค้าตกลงให้ทำแบบนี้นะ

จะเห็นว่าบริการของ Robo-advisor นั้นมีความก้ำกึ่งระหว่าง

  1. Execution Portfolio ซึ่งลูกค้าตัดสินใจลงทุนเอง (ผ่าน Broker) โดยอาจทำภายใต้คำแนะนำ (จาก Investment Advisor) กับ
  2. Discretionary Portfolio ซึ่งมีตัวแทนตัดสินใจลงทุนและส่งคำสั่งซื้อขายให้ (Fund Manager)

โดยบริการของ Robo-advisor นั้นเป็นการให้คำแนะนำ แต่ให้ลูกค้ามอบฉันทะให้ทำรายการตามที่แนะนำให้ด้วยเลย แต่ก็ยังต่างจากการใช้บริการผู้จัดการกองทุนตรงที่ ลูกค้าสามารถเข้าไปในระบบและเลือกที่จะเปลี่ยนสัดส่วนการลงทุนให้แตกต่างจากคำแนะนำได้ด้วยตัวเอง และระบบของ Robo-advisor ก็จะทำการซื้อขายให้เพื่อให้เป็นไปตามสัดส่วนที่ลูกค้ากำหนดนั้น

ด้วยความที่มีบทบาทมากกว่าผู้แนะนำนี้ ในอเมริกาจึงถึงว่า robo-advisor นั้นนับเป็น fiduciary ของลูกค้าด้วย การดำเนินธุรกิจทุกขั้นตอนต้องถือประโยชน์ของลูกค้าอยู่สูงสุด (ก่อนประโยชน์ของบริษัทเอง) เช่นเดียวกับที่ผู้จัดการกองทุนต้องทำ

ด้วยวิธีการทำงานแบบนี้ ผมคิดว่าในเมืองไทยก็น่าจะทำได้ แต่ต้องทำความเข้าใจกับ กลต.ให้ชัดว่าจะแบ่งหน้าที่กันยังไงระหว่างที่ปรึกษาการลงทุนกับนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ และต้องอธิบายให้ลูกค้าเข้าใจอย่างดี

How robo-advisor makes money

อย่างที่ได้พูดถึงไว้ข้างบนเรื่อง fiduciary ครับ ว่า robo-advisor ต้องทำหน้าที่เพื่อให้ประโยชน์สูงสุดต่อลูกค้า

แล้วมันหมายความว่ายังไง?

ยกตัวอย่างสิ่งที่ทำไม่ได้ จะช่วยให้เห็นภาพง่ายขึ้นครับ อย่างนึงที่ทำไม่ได้ก็คือการเลือกเอาเงินลูกค้าไปลงทุน แบบที่ตัว robo-advisor ได้ประโยชน์ตอบแทน (คอมมิชชั่น) เพราะกองที่จ่ายคอมมิชชั่นดี อาจจะไม่ใช่กองที่ทำผลตอบแทนดี

ดังนั้น robo-advisor จึงทำงานในลักษณะที่เรียกว่า “fee-only” หมายความว่า รายได้ของ robo-advisor จะมาจาก “ค่าบริการแนะนำการลงทุน” จากลูกค้าเท่านั้น และจะไม่มีรายได้จากคอมมิชชั่นตอนส่งคำสั่งซื้อ-ขาย (แม้จะเป็นเจ้าที่ตั้งบริษัทโบรกเกอร์ขึ้นมาเอง ก็ต้องโชว์ให้กลต.ดูได้นะครับ ว่าตัวโบรกเกอร์คิด fee เหมาะสม โดยเทียบกับเจ้าอื่นๆ ในตลาด)

ค่าบริการของ robo-advisor นั้นจะคิดเป็นเปอร์เซ็นต์ของมูลค่าพอร์ตของลูกค้า ลักษณะเดียวกันกับ management fee ของกองทุน

ค่าบริการของ Betterment
ค่าบริการของ Betterment, Source: Betterment

โดยสำหรับบัญชีขนาดทั่วๆ ไป (10,000 – 100,000 เหรียญ) ค่าบริการอยู่ที่ 0.25% ต่อปี ซึ่งถูกกว่าค่าบริการของ Investment Advisor ทั่วไปอยู่เยอะทีเดียว แต่ที่ robo-advisor คิดแค่เท่านี้ได้ก็เพราะการทำ asset allocation แบบอัตโนมัติ และการเพิ่ม efficiency ต่างๆ ในการทำงานให้มากที่สุด

โดยเฉพาะตัว Betterment นี่ทำเกือบจะทุกอย่างด้วยตัวเอง ทำให้ลดค่าใช้จ่ายได้มากกว่าคู่แข่ง

Betterment in-house operations
Betterment in-house operations, Source: Jonathan Stein

What can we learn from them

1. Build trust

การที่ลูกค้าจะยอมให้ใครจัดการเงินเก็บเพื่อยามเกษียณ ต้องอาศัยความเชื่อถือมากทีเดียว

Robo-advisor นั้นยังเป็นธุรกิจใหม่ เจ้าที่ใหญ่ที่สุดอย่าง Betterment หรือ Wealthfront ก็ยังมีขนาดเล็กกว่าบริษัทจัดการกองทุนแบบดั้งเดิมอยู่มาก เราจึงเห็น robo-advisor ให้ความสำคัญกับเรื่อง transparency มากๆ และมีการเปิดเผยข้อมูลต่างๆ เยอะมาก เช่น

  • รายละเอียดการลงทุนในปัจจุบัน และผลงานในอดีต
  • algorithm ต่างๆ ที่ใช้ในการบริการการลงทุน
  • ข้อมูล และ assumption ต่างๆ ที่ใช้ในการตัดสินใจซื้อ-ขาย
  • เ่ขียน blog เป็นประจำ เล่าทั้งเรื่องฝั่งธุรกิจและฝั่ง IT ของบริษัท
  • เปิดเผยสัญญามาตรฐานที่ใช้ (1,2)

นอกจากนี้ก็มีผู้มีชื่อเสียงอยู่ในทีมบริหารด้วย อย่างเช่น Burton Malkiel ที่เป็น Chief Investment Office ของ Wealthfront ก็เป็นศาสตราจารย์ที่ดังมาก และนั่งอยู่บนบอร์ดของยักษ์ใหญ่ด้านการลงทุนอย่าง Vanguard Group ด้วย

2. Doing what the incumbent do, much better

Robo-advisor ไม่ได้ถูกกว่า investment advisor ทั่วไปแค่นิดเดียว แต่ถูกกว่าหลายเท่า

Robo-advisor เปิดประตูให้คนที่มีเงินแค่หลักพันเหรียญก็สามารถได้ “คำแนะนำด้านการลงทุน” จากผู้เชี่ยวชาญได้ จากที่ investment advisor แบบเดิมรับเฉพาะลูกค้าที่มีเงินหลักหลายๆ ล้านเหรียญ

การที่ดีกว่าตัวเลือกปัจจุบันไม่ใช่แค่นิดเดียว แต่ดีกว่ามากๆ นี่เอง ที่ทำให้ robo-advisor มีอัตราการเติบโตที่สูงมากในช่วงแรก

3. Watch those you disrupted

ผมจบย่อหน้าที่แล้วด้วยคำว่า ช่วงแรก เพราะหลังจากผู้เล่นรายใหญ่อย่า Vanguard และ Charles Schwab กระโดดลงมาร่วมวงด้วยเมื่อปีที่แล้ว อัตราการเติบโตของ robo-advisor รุ่นแรกก็ชะลอลงอย่างเห็นได้ชัด

Startup ทั้งหลาย โดยเฉพาะในกลุ่ม FinTech ต้องไม่ลืมนะครับว่าผู้เล่นปัจจุบันในตลาด เป็นบริษัทขนาดมหึมา ธนาคารใหญ่ๆ ในำไทยมีส่วนทุนเป็นหลัก แสนล้านบาท บริษัทประกันชีวิตก็มีขนาดใหญ่มาก นอกจากว่าเราจะมี secret sauce ที่ไม่มีใครเลียนแบบได้จริงๆ การเป็นคู่แข่งกับยักษ์ก็ต้องคอยชำเลืองดูตลอดเวลาว่าเมื่อไหร่ยักษ์จะตื่นขึ้นมาวิ่งแข่งกับเรา

อัตราการเติบโตของ robo-advisor
อัตราการเติบโตของ robo-advisor, Source: Michael Kitces

นี่ไม่ได้หมายความว่า robo-advisor กำลังจะหายไป เพราะการเติบโต “เดือนละ” 3-6% ก็ยังถือว่าไม่น้อยเลย

แต่เมื่อลดลงมาจากสิบกว่าเปอร์เซ็นต์ valuation ของตัวบริษัทก็หายไปเยอะครับ แผนต่างๆ ก็อาจต้องปรับพอสมควร

1 COMMENT

LEAVE A REPLY

Please enter your comment!
Please enter your name here