What is Slock.It

ในยุค Internet of Things นี้ เรามีอุปกรณ์ smart devices ต่างๆ ที่สามารถเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตได้มากขึ้นทุกวัน ไม่ว่าจะเป็น หลอดไฟ, ตู้เย็น, กลอนประตู, หรือ เครื่องชั่งน้ำหนัก

สิงที่ Slock.It กำลังทำคือการให้เราสามารถ ‘ปล่อยเช่า’ อุปกรณ์ smart devices ต่างๆ โดยใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี blockchain โดยระบบของ Slock.It ทำงานอยู่บน Ethereum blockchain ซึ่งทำให้การใช้งานในตัวอย่างที่จะเล่าให้ฟังต่อไปนี้สามารถเกิดขึ้นได้โดยไม่ต้องมี ‘ตัวกลาง’ เลย แถมยังสามารถเพิ่มความฉลาดให้กับบริการต่างๆ ได้อีกด้วย

ตัวอย่างการใช้งาน

สมมุติผมมีห้องคอนโดให้เช่า โดยประตูติดกลอนประตูแบบ smart lock ไว้ ผมสามารถใช้อุปกรณ์ของ Slock.It เชื่อมกลอนประตูเข้ากับ blockchain และลงทะเบียนห้องเช่านี้ไว้บนระบบ โดยกำหนดค่ามัดจำและค่าเช่ารายวันตามที่ผมต้องการ

คนเช่าจะมองเห็นห้องคอนโดนี้ในแอป สมมุติว่าเค้าต้องการเช่าเป็นเวลา 2 วัน ก็จ่ายค่าเช่าผ่านแอป จากนั้นก็สามารถเปิดประตูเข้าห้องได้ทันทีด้วยการกดปุ่มบนแอป โดยหลังจาก 2 วันประตูก็จะหยุดรับคำสั่งเนื่องจากหมดเวลาตามที่ตกลงกันไว้

ในตัวอย่างนี้ ฟังก์ชั่นการทำงานของ smart device ถูก trigger โดยการจ่ายเงิน โดยไม่ต้องมีตัวกลางเช่น Airbnb เลย และที่จริงแล้วแม้แต่เจ้าของห้องก็ไม่ต้องทำอะไรด้วยซ้ำ เพราะเป็นการทำธุรกรรมระหว่างคนเช่ากับตัว smart devices โดยตรง!

Christoph Jentzsch หนึ่งในผู้ก่อตั้ง demo Slock.It ที่ Devcon One

หลายคนเริ่มวิจารณ์เจ้าตลาด Sharing Economy เช่น Airbnb หรือ Uber ว่าไม่ค่อยจะ Share เท่าไหร่เลย เพราะเก็บค่าธรรมเนียมจากการเป็น platform จนตัวเองมีมูลค่าหลายหมื่นล้านเหรียญ การที่ Slock.It ให้เราทำธุรกรรมแบบเดียวกันได้โดยไม่ต้องผ่านตัวกลางแบบนี้ เป็นการสร้าง Decentralized Sharing Economy ซึ่งน่าสนใจมาก

นอกจาก smart door lock แล้ว ไอเดียนี้นำไปประยุกต์ใช้กับ smart devices ประเภทอื่นเพื่อสร้างธุรกิจแบ่งปันกันใช้ (Sharing Business) ใหม่ๆ ที่น่าสนใจได้อีกหลายอย่างมาก ยกตัวอย่างเช่น

  • ให้เช่าใช้เครื่องชาร์จรถยนตร์ไฟฟ้า ต่อไปพอมีการใช้รถขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้ามากขึ้น เราอาจจะซื้อเครื่องชาร์จติดไว้หน้าบ้าน นอกจากชาร์จรถของเราเองแล้ว ใครผ่านมาต้องการใช้ก็จ่ายเงินผ่านแอปแล้วจ่ายเงินตามจำนวนหน่วยไฟฟ้าที่ใช้จริง
  • รถยนตร์ให้เช่าที่สนามบิน โดยรถรออยู่ในที่จอดรถ คนที่เช่าเดินมาถึงสามารถใช้มือถือเปิดประตูและกดสตาร์ทรถเริ่มขับได้เลย โดยไม่ต้องจองล่วงหน้ามาก่อนหรือยืนต่อคิวที่เค้าเตอร์
  • เครื่องซักผ้าสาธารณะที่ไม่ต้องหยอดเหรียญ แถมพอซักเสร็จแล้วประตูตู้จะยอมเปิดให้เฉพาะกับคนที่จ่ายเงินเท่านั้น (แต่อาจจะตั้งว่าถ้า 30 นาทีผ่านไปยังไม่มาเอาผ้า ประตูตู้ก็จะเปิดให้คนต่อไปเอาผ้าออกได้)

slockit-how-it-works

How does Slock.It work

ระบบของ Slock.It ทำงานอยู่บน Ethereum blockchain โดยการเชื่อมต่อ smart devices ต่างๆ เข้ากับ blockchain จะทำผ่านอุปกรณ์ที่เรียกว่า Ethereum Computer ซึ่งเมื่อพัฒนาเสร็จแล้วเราก็จะซื้อได้จากร้านคอมพิวเตอร์เหมือนเราเตอร์ตัวนึง (ทีมพัฒนาวางแผนว่าจะเริ่มขายปี 2017 ราคา $99-$199)

ethereum_computer_prototype
รูป Ethereum Computer prototype, จาก Slock.It Blog

Ethereum Computer จะรัน Snappy Ubuntu และทำตัวเป็น Ethereum full node ตัวนึง ดังนั้นมันสามารถรัน smart contract ได้ทุกอย่างเหมือนคอมพิวเตอร์เครื่องนึง หรือถ้าใครไม่อยากซื้อก็สามารถสร้างเองได้จาก Raspberry Pi 2

นอกจากนี้ Slock.It ก็ยังพยายามจับมือกับผู้ผลิต smart devices ต่างๆ เพื่อเพิ่มความสามารถแบบ Ethereum Computer มาเลยจากโรงงาน เช่นโปรเจค BlockCharge เป็นสถานีชาร์จรถยนตร์ไฟฟ้าที่เชื่อมต่อกับระบบของ Slock.It ได้ในตัวเอง

และตอนต้นปี 2016 ก็มีการประกาศความร่วมมือระหว่าง Slock.It กับ Samsung และ Canonical (บริษัทที่ทำ Ubuntu) เพื่อพัฒนาความสามารถแบบ Ethereum Computer เข้าไปใน smart hub ของ Samsung ด้วย

slockit-blockcharge
BlockCharge Project

นอกจากด้านผู้ผลิตอุปกรณ์ smart devices ต่างๆ Slock.It ก็ยังหาพันธมิตรด้านประกันด้วย เพราะความกังวลอันดับต้นๆ ของ Sharing Economy ก็คงหนีไม่พ้นความกลัวว่าของที่ถูกใช้งาน (บ้าน รถ จักรยาน) จะได้รับความเสียหาย

โดย vision ก็คือจะผูกบริการประกันด้วย blockchain อีกเช่นกัน เพื่อให้สามารถคิดค่าคุ้มครองตามช่วงเวลาการใช้งานจริงๆ เท่านั้น เช่นเจ้าของห้องให้เช่าก็จะจ่ายค่าประกันเฉพาะในช่วงเวลาที่มีคนเช่าห้องจริงๆ ไม่ต้องจ่ายตลอดทั้งปี

How will Slock.It makes money

การเก็บค่าธรรมเนียมของ Slock.It จะอยู่ในรูปของส่วนแบ่งจากธุรกรรมต่างๆ ที่เกิดขึ้นในระบบ ซึ่ง ณ ตอนนี้ยังไม่มีการประกาศว่าจะเป็นเท่าไหร่ แต่เนื่องจากค่าใช้จ่ายของ Slock.It อยู่ที่ขั้นตอนการพัฒนาระบบ แต่ไม่มีค่าใช้จ่ายในการดำเนินการรายวัน น่าจะทำให้สามารถคิดค่าธรรมเนียมได้ต่ำกว่าระบบทั่วไปซึ่งต้องมีตัวกลาง เช่น Airbnb หรือ Uber ได้มาก

และการจ่ายเงินบน blockchain นั้นก็มีค่าธรรมเนียมที่ต่ำมากๆ ด้วยเทียบกับการจ่ายผ่านบัตรเครดิต เช่นปัจจุบันนี้การจ่ายเงินบน Ethereum คร้ั้งนึงจะมีค่าธรรมเนียมประมาณ $0.001 เท่านั้นเอง เทียบกับ 2-3% สำหรับบัตรเครดิต

ผลกระทบจาก The DAO

หลายคนอาจจะเคยได้ยินกรณีการ hack ครั้งใหญ่ที่ The DAO (Decentralized Autonomous Organization) ซึ่งส่งผลกระทบอย่างมากต่อ Ethereum โดยรวม และโดยเฉพาะต่อ Slock.It เพราะโครงการ The DAO นั้นก็เกิดมาจากทีมของ Slock.It นี่เอง

ในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมา ข่าวด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของ Slock.It ก็เลยเงียบไป ถูกข่าว DAO Hack และ Ethereum Hard Fork กลบหมด แต่วันนี้ทีมผู้พัฒนาก็เริ่มกลับมาพูดคุยเรื่อง product ต่อแล้ว หวังว่าโปรเจคนี้จะเดินต่อไปได้ครับ เพราะไอเดีย Blockchain + Internet of Things = Decentralized Sharing Economy นี้ดีมาก ถ้าทีมนี้ไม่ทำต่อ ก็คงมีทีมอื่นลุกขึ้นมาทำแน่นอน

LEAVE A REPLY

Please enter your comment!
Please enter your name here